สำนวนไทย
คือถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว
มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่]หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สำนวน คือถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือความที่เรียบเรียงขึ้นในเชิงอุปมาอุปมัยโดยมีนัยแฝงเร้นซ่อนอยู่อย่าง ลึกซึ้ง แยบคาย เพื่อให้ผู้รับได้ไปตีความ ทำความเข้าใจด้วยตนเองอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งอาจแตกต่างไปความหมายเดิมหรืออาจคล้ายคลึงกับความหมายเดิมก็ได้ สันนิษฐานว่า สำนวนนั้นมีอยู่ในภาษาพูดก่อนที่จะมีภาษาเขียนเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยเมื่อพิจารณาจากข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงแล้ว ก็พบว่ามีสำนวนไทยปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ เช่น ไพร่ฟ้าหน้าใส หมายถึง
ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข
คุณค่า
ภาษาพูดหรือภาษาเขียนของชนแต่ละชาติย่อมจะมีอยู่ด้วยกันสองอย่าง
คือ พูดตรงไปตรงมาตามภาษาของตนเอง เป็นภาษาพูดที่ต่างคนต่างฟังเข้าใจกันได้ง่าย พูดเป็นชั้นเชิง มีการใช้โวหารและคำคล้องจองในการพูดและการเขียน
ทั้งนี้ เพื่อให้ความหมายชัดเจนหรือขยายความออกไปให้กระจ่างขึ้น หรือเพื่อให้เกิดความไพเราะน่าฟัง เป็นภาษาที่เราเรียกว่า
"โวหาร" "เล่นลิ้น" หรือ" พูดสำบัดสำนวน" สำนวนเหล่านั้นจะแสดงความหมายอยู่ในตัวประโยคนั้นเอง
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลย ^^
ตอบลบ