วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

"Single Gateway ทำอะไรได้บ้าง"



การปิดช่องทางเข้า-ออกให้เหลือเพียงทางเดียว แน่นอนว่าเพื่อประโยชน์ต่อการตรวจสอบและตรวจจับการใช้งาน Traffic บนระบบ Internet ที่วิ่งไปนอกประเทศ รวมถึงการบล็อกการใช้งานเข้าถึงเซิฟเวอร์ภายนอก นั้นหมายถึงเว็บไซต์ที่เราใช้งานกับประจำอาทิเช่น google.com, youtube.com, twitter.com, facebook.com, paypal, steam, origin, internet banking นอกประเทศและอีกหมายมาย ที่มีโอกาสจะถูกปิดการใช้งานเมื่อไหร่ก็ได้ นอกจากนั้น

"หากโครงการ Single Internet Gateway ของประเทศไทยเกิดขึ้นจริงย่อมมีผลกระทบต่อผู้ใช้ทุกคนในวงกว้างตามมาอย่างแน่นอน ผมขอสรุปเป็นประเด็นสั้นๆ ดังนี้ครับ

- รัฐบาลกละบุคคลที่เข้าถึงสามารถ “สอดแนม” หรือ “ดักข้อมูล” ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (Facebook/LINE/Twitter และอื่นๆ) ทุกคนในประเทศ (ด้วยวิธีใดๆ ก็แล้วแต่) ได้ง่ายขึ้น จากเดิมที่เราสามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้หลายช่องทาง ทำให้การดักจับข้อมูลเป็นไปได้ยาก
- รัฐบาลสามารถปิดกั้นหรือ Block เว็บไซต์ต่างๆ ได้แบบหมดจดและเด็ดขาด ซึ่งขัดกับหลักการของอินเทอร์เน็ตที่ต้องมีการเปิดกว้าง
- ลดเสถียรภาพการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนในประเทศลง เช่น หาก Single Gateway ล่ม คนทั้งประเทศก็ไม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตออกนอกประเทศได้เลย จากเดิมถ้าล่มบางเส้น เส้นอื่นก็ยังสามารถใช้งานได้อยู่"

นอกจากจะเป็นเรื่องของรัฐบาลกับเสรีภาพการใช้งานด้วยแล้วนั้น ยังอาจจะมีผลกระทบในด้านอื่นๆอาทิเช่น ความเร็วที่ลดลงเมื่อใช้งานกับช่องทางต่างประเทศ อันเกิดมาจาก Gateway ไม่สามารถรองรับปริมาณ Traffic ที่มีมากได้, ความเสี่ยงที่จะโดนบุคคลไม่ประสงค์ดี แฮกเกอร์ แครกเกอร์ ทั้งหลายเข้ามาเจาะดักข้อมูล ซึ่ง SIngle Gateway ที่ไม่รัดกุมจะกลายเป็นแหล่งขุมทรัพย์ชั้นดีในการดักข้อมูลประเภทต่างๆเช่น internet banking และ e-pocket ทั้งหลาย (ต้องนำไปถอดรหัสอีกที) หรือย่ำแย่ที่สุดเลยคือ Gateway ล่มครับ.. นั้นหมายถึงคุณขาดช่องทางการติดต่อกับต่างประเทศไปเป็นระยะเวลาที่ไม่สามารถทราบได้ ซึ่งอาจจะหมายถึงช่วงเวลาสำคัญต่องาน ต่อเงิน ต่อกิจกรรมใดๆก็ตามของคุณ




อ้างอิง  http://hilight.kapook.com/view/126924

ข้อเสีย หลังการติดตั้ง Single Gateway

อินเตอร์เน็ตช้าลงแน่นอน เนื่องจากมี Gateway เดียว

- หาก Gateway ล่มก็จะล่มกันหมดทั้งประเทศ เพราะจะไม่มี Gateway ตัวอื่นรองรับ

- ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปถูกจำกัดการใช้เครือข่ายกับต่างประเทศมากขึ้น และต้องระวังการเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน เช่น การถูกรัฐบาลบล็อก แบน สแกน การใช้งานอินเทอร์เน็ต

- รัฐบาลสามารถปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลที่ประชาชนค้นหาได้อย่างรวดเร็วเต็มประสิทธิภาพ ด้วยป้องการกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่รัฐบาลไม่ต้องการ

- มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องสร้าง Gateway ที่มีขนาดใหญ่รองรับปริมาณการใช้งานทั้งประเทศ และต้องใหญ่พอที่จะรองรับปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต

- บริษัทข้ามชาติลังเลที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากไม่มั่นใจด้านความมั่นคงและรู้สึกไม่ปลอดภัยในการให้บริการอินเทอร์เน็ต กังวลถึงข้อมูลทางการค้าที่ถูกล้วงความลับได้ง่าย

- ประเทศไทยขาดโอกาสการเป็นฮับทางเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน

อ้างอิง http://hilight.kapook.com/view/126924

ข้อดี หลังการติดตั้ง Single Gateway

รัฐบาลเป็นผู้ควบคุมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนในประเทศ ทำให้สามารถคัดกรองข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หรือไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนได้ รวมถึงป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม

- ส่งเสริมความมั่นคงในประเทศชาติ ยากต่อการก่อการร้าย เพราะรัฐบาลจะรู้ก่อน

- ควบคุมข้อมูลข่าวสารที่หลั่งไหลจากต่างประเทศเข้ามาทางอินเทอร์เน็ต



อ้างอิง http://hilight.kapook.com/view/126924

รัฐบาลไทย ผลักดันจัดตั้ง Single Gateway

ริ่มแรกเกิดจากการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมีนโยบายเตรียมผลักดันการจัดตั้ง Single Gateway โดยมอบหมายให้กระทรวงไอซีทีรับผิดชอบ ในการตรวจสอบข้อมูลที่ไม่เหมาะสม หรือบล็อกข้อมูลที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย รวมทั้งเพื่อป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยการก่อการร้าย ซึ่งมีการสั่งงานของรัฐบาลเป็นระยะ คือ

- วันที่ 30 มิถุนายน 2558 มีการมอบหมายให้กระทรวงไอซีทีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงยุติธรรมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการจัดตั้ง Single Gateway เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมและการไหลเข้าของข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต

- วันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ให้กระทรวงไอซีทีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการจัดตั้ง Single Gateway ตามมติคณะรัฐมนตรี (30 มิถุนายน 2558) โดยด่วนต่อไป

- วันที่ 4 สิงหาคม 2558 ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รายงานความคืบหน้าการจัดตั้ง Single Gateway ให้ทุกส่วนราชการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการดำเนินการทุกอย่างของรัฐบาลให้แก่ประชาชนตั้งแต่เริ่มแรก

- วันที่ 25 สิงหาคม 2558 ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเร่งรัดการดำเนินการเรื่องการจัดตั้ง Single Gateway และรายงานความคืบหน้าให้นายกรัฐมนตรีทราบภายในเดือนกันยายน 2558 ต่อไปด้วย

Single Gateway

อ้างอิง http://www.thairath.co.th/clip/27480

ประเทศที่ใช้ Single Gateway

ปัจจุบันมีประเทศที่ใช้ Single Gateway คือ ลาว จีน เกาหลีเหนือ และประเทศแถบตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นประเทศที่ภาครัฐสามารถควบคุมดูแลการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชนได้สะดวก โดยเฉพาะจีนที่รัฐบาลควบคุมไม่ให้ประชาชนในประเทศเล่นสื่อโซเชียลอย่าง Facebook รวมถึงการห้ามใช้ Google นั่นเอง

และแน่นอนว่าในอดีตประเทศไทยก็เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการใช้ Single Gateway เช่นกัน ในสมัยแรก ๆ ที่การใช้อินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลายมากนัก โดยเวลาที่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ทุกจุดเชื่อมต่อก็จะต้องมารวมกันที่ กสท. ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงผู้ให้บริการเพียงเจ้าเดียว แต่หลังจากเกิดวิกฤตไอเอ็มเอฟ ในปี 2540 ก็ได้มีการสั่งให้ประเทศไทยเปิดเสรีโทรคมนาคม ทำให้ Gateway ในไทยเพิ่มมากขึ้นจนตอนนี้มีถึงสิบกว่า Gateway แล้ว



อ้างอิง https://www.change.org/p/thai-govt-%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%8C-stop-proposed-plan-for-single-internet-gateway

ปัญหาและสิ่งที่จะตามมาของการใช้ Single Gateway?



แน่นอนว่าการมีประตูทางออกเดียวจะทำให้อินเตอร์เน็ตช้าลงแน่นอน และอีกอย่างคือหากว่าเกตเวย์ล่มก็จะล่มกันหมดทั้งประเทศ เพราะจะไม่มีเกตเวย์ตัวอื่นรองรับเลย
แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือการที่ผู้ให้บริการ gateway (ซึ่งมีอยู่เจ้าเดียว) สามารถดักจับข้อมูลสำคัญของผู้ใช้งานได้อย่างง่ายดาย รวมถึงปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลที่เราค้นหาได้อย่างรวดเร็วเต็มประสิทธิภาพด้วย

ถ้าหากมีการใช้ Single Gateway จริง ก็จะยิ่งทำให้บริษัทต่างประเทศลังเลมากยิ่งขึ้นในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และผู้ให้บริการที่มีพาร์ทเน่อร์กับบริษัทต่างประเทศก็อาจจะสูญเสียรายได้ เนื่องจากบริษัทข้ามชาติจะเกิดความไม่แน่ใจด้านความมั่นคงและปลอดภัยของการให้บริการอินเตอร์เน็ตในบ้านเรา หากล่มปุ๊ป แน่นอนว่าจบเห่แน่ทั้งประเทศ รวมถึงข้อมูลความลับทางการค้าก็อาจจะถูกล้วงได้โดยง่าย ในขณะเดียวกันผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วไปก็จะถูกจำกัดการเข้าใช้งานกับเครือข่ายต่างประเทศมากยิ่งขึ้น และยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษกับการเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมโดยไม่รู้ตัวด้วยเช่นกัน



อ้างอิง https://www.change.org/p/thai-govt-%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%8C-stop-proposed-plan-for-single-internet-gateway

ทำไมรัฐจะกลับมาใช้ Single Gateway?

อย่างที่กล่าวไปแล้ว Single Gateway คือประตูเพียงบานเดียว คือไม่ว่าอินเตอร์เน็ตภายในประเทศจะเชื่อมกันกี่หมื่นกี่พันเส้น แต่ทางออกเพื่อไปเชื่อมกับเครือข่ายในต่างประเทศนั้นจะเหลือแค่จุดเดียวเท่านั้น การดูแลการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต การตรวจสอบข้อมูล การดักจับข้อมูล ฯลฯ จึงทำได้ง่ายกว่าเยอะ ในรัฐที่มีการปกครองแบบอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จเช่นประเทศไทย จึงอาจเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจเท่าไร ที่รัฐบาลจะพยายามควบคุมการใช้งานและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากโลกภายนอก โดยอ้าง ‘ความมั่นคง

อ้างอิง http://droidsans.com/thai-gov-single-gateway-explained